วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผืนป่าเขาใหญ่





ผืนป่าเขาใหญ่มีเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง หลายคนอาจรู้จักเขาใหญ่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนห้องเรียนทางธรรมชาติขนาดใหญ่ ทว่าแท้จริงแล้วเขาใหญ่มีอดีตอันลึกลับที่ผู้คนต่างยุคสมัยเล่าขานกันเนิ่นนานจวบจนปัจจุบัน

ผืนป่าดงดิบอันกว้างใหญ่ที่ทอดตัวขวางกั้นระหว่างที่ราบสูงแผ่นดินอีสานกับพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง หรือที่รู้จักกันในนาม“ดงพญาไฟ”หรือ“ดงพญาเย็น” ตำนานเล่าขานต่อเนื่องเกี่ยวกับสภาพป่าอันดิบชื้น สัตว์ป่าดุร้าย ไข้ป่า และความเชื่อต่างๆ สร้างภาพลักษณ์ที่น่ากลัวของป่าในความคิดของผู้คนที่รอนแรมเดินทางผ่านไปมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2502 ฯพณฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีฯ ได้เดินทางไปตรวจราชการทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะคุ้มครองรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ จึงได้ประกาศให้บริเวณพื้นที่ป่าเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขต 4 จังหวัด(อย่างที่กล่าวไปแล้ว) ภายหลังได้มีการประกาศจัดตั้งอุทยานฯทับลานและอุทยานฯปางสีดาในพื้นที่ป่าต่อเนื่องกัน รวมกันแล้วเป็นผืนป่าอุทยานแห่งชาติผืนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ต่อมาในการประชุมอุทยานแห่งชาติของโลกเมื่อปี พ.ศ.2515 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาใหญ่ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 อุทยานแห่งชาติที่มีการจัดการดีเยี่ยม และได้รับการประกาศเป็น“มรดกโลกทางธรรมชาติ”ในเวลาต่อมา ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของชาติจวบจนปัจจุบันอุทยานฯเขาใหญ่ มีพื้นที่ 2,168 ตร.กม. ประกอบด้วยทุ่งหญ้ากว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ทางด้านตะวันออกของอุทยานฯปกคลุมไปด้วยป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนป่าดิบแล้งขึ้นอยู่ในพื้นที่ราบแถบ จ.นครราชสีมา และ จ.ปราจีนบุรี อันเป็นพื้นที่ซึ่งเคยทำเกษตรกรรมมาก่อน ปัจจุบันนี้มีสภาพเป็นป่าทุ่งหญ้า สำหรับป่าเต็งรังพบเพียงเล็กน้อยองค์ประกอบสำคัญยิ่งของระบบนิเวศเขาใหญ่ คือ “สัตว์ป่า” ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการที่ไม่สิ้นสุด จากการสำรวจของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯเขาใหญ่ เบื้องต้นพบว่ามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอยู่หลายประเภท ได้แก่ สัตว์กินเนื้อ 16 ชนิด ช้าง 1 ชนิด สัตว์กีบ 7 ชนิด สัตว์กินแมลง 3 ชนิด สัตว์จำพวกลิง 5 ชนิด กระต่าย 1 ชนิด สัตว์จำพวกใช้ฟันแทะ 6 ชนิด ค้างคาวไม่น้อยกว่า 25 ชนิด นกไม่น้อยกว่า 293 ชนิด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประมาณ 70 ชนิดผืนป่าในเขตอุทยานฯเขาใหญ่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น เป็นต้นธารของแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรีที่ไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำบางปะกง , ลำตะคองที่ไหลหล่อเลี้ยงผู้คนใน จ.นครราชสีมา และต้นน้ำของแม่น้ำมูล อันเป็นลำน้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของผู้คนในภาคอีสานตอนล่าง โดยไหลเลาะเลียบไปทางทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ธรรมชาติ

    18 กันยายน พ.ศ. 2505 เป็นวันประกาศอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของเมืองไทย คืออุทยานฯเขาใหญ่จวบจนถึงวันนี้นับเป็นเวลานับ 50 ปี
    อุทยานเขาใหญ่ใด้ผ่านลอยย้ำของนักเดินทางมาอย่างยาวนานแต่ล่ะคนผ่านพบประสบการณ์และความปรทับใจที่แต่งต่างกันออกไป สิ่งหนึ่งที่ผืนป่าแห่งนี้ไม่เคยเปลียนแปลงนับตั้งแต่พืนป่า"ดงพญาเย็น"อันลึกลับสู่การประกาศให้เป็น"อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย"คือความอุดมสมบูรณ์ของป่าดิบชื้นอันสวยงามซึ่งต่อมายูเนสโก้ (UNESCO)ได้ประกาศให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ"ที่ควรอนุรักษ์และห่วงแหน เมื่อปี พ.ศ. 2548
     สภาพภูมิประเทศของอุทยานฯเขาใหญ่ที่สวยงามเช่นในปัจจุบันนี้น้อยคนนักที่จะรู้ว่าธรรมชาติใด้ใช้เวลาหลายร้อยล้านปีในการสรรค์สร้างให้ปรากฎผลเป็นปฎิมากรรมทางธรนีวิทยาบนผิวโลก ภูมิลักษณ์ของมรดกโลกแห่งนี้จึงมีความลับซับซ้อนด้วยภูเขาน้อยใหญ่ที่ปกติคุมด้วยผืนป่าอันสงบร่มเย็นทว่าแผ่นเปลือกโลกที่ซ้อนอยู่ใต้ผืนป่าแห่งนี้กลับมีเรื่องราวอันหน้าพิศวงและชวนติดตามทั้งที่เกิดจากการละเบิดของภูเขาไฟการถับถมของตะกอน การยกตัวของเปลือกโลก และการกัดเซาะทั้งหลายของดินและหินที่เกิดข้นในแต่ล่ะยุคทางธรนีวิทยาท้าทายให้เราค้นหาอย่างไม่รู้จบ

วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ธรรมชาติกับกล้วยไม้

   หางช้างหรือเพรชหึง เป็นกล้วยไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นกล้วยไม้ป่าชนิดหนึ่งที่พบมากในประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดและศูนย์กลางของกล้วยไม้ที่สำคัญ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เอื่ออำนวยต่อการเจริญงอกงาม และมีลักษณะเด่นแตกต่างไปจากภูมิภาคอื่น โดยกล้วยไม้ชนิดนี้อยู่ในสกุล "แกรมมาโทฟิลลั่ม" ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดียว

   หางช้างหรือเพรชหึง เป็นกล้วยไม้ป่าที่หายากและเป็นกล้วยไม้พันธิ์พืชสงวน โดยมีการนำออกมาจากป่ามาปลูก แต่ไม่สามารถเลี้ยงดูหรือขยายพันธุ์ใด้ จึงทำให้กล้วยไม้ชนิดนี้เริ่มจะสูญพันธุ์ จึงเริ่มมีการนำเอามาขยายพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้ยเยื่อ ซึ่งโดยธรรมชาติของกล้วยไม้ชนิดนี้เมื่อผสมเกสรติดฝัก จะมีเมล็ดขนาดเล็กนับแสนๆๆเมล็ด ที่ล่องลอยออกไปตามกระแสลม ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-ตุลาคมของทุกๆๆปี แต่จะมีเพียงไม่กี่เมล็ดเท่านั้นที่สามารถรอดได้

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ธรรมชาตกับกล้าวยไม้

ไอยเรสหรือพวงมาลัย  เป็นไม้ป่าพันธุ์แท้ที่มีทิ่นกำเนิดกระจายไปทั่วประเทศไทยและประเทศศีลังกา เนปาล ภูฎาน จีน ประเทศแทบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปินส์ และหมู่เกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยพบในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 150-1200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไอยเรศมีลำต้นใหญ่แข่งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้างแต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตรกว้างประมาณ 4 เซ็นติเมตรมีทางสีเขียวแก่สลับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายก้ลวยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป้นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก ใค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซ็นติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซ็นติเมตร มีดอกแน่นช่อ ใน 1 ช่อมีประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พวงมาลัย” ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ไอยเรศที่มีดอกสีขาว ไม่มีสีม่วงปะปนอยู่เลย เรียก "ไอยเรศเผือก" ซึ่งหาได้ยาก   ไอยเรศปลูกเลี้ยงได้ง่าย ให้ดอกทุกปี และชอบแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้าง การปลูกอาจเกาะไว้กับกิ่งไม้หรือท่อนไม้ ไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดด หรือจะปลูกลงกระเช้าไม้ แขวนไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ ควรให้ได้รับแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้างเล็กน้อย และควรปลูกในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม เนื่องจากช่วงต้นฤดูฝนจะทำให้ต้นและรากเติบโตดี
ไอยเรสหรือพวงมาลัย  เป็นไม้ป่าพันธุ์แท้ที่มีทิ่นกำเนิดกระจายไปทั่วประเทศไทยและประเทศศีลังกา เนปาล ภูฎาน จีน ประเทศแทบอินโดจีน มาเลเซีย ฟิลิปินส์ และหมู่เกาะบอร์เนียว ในประเทศไทยพบในป่าที่มีระดับความสูงตั้งแต่ประมาณ 150-1200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ไอยเรศมีลำต้นใหญ่แข่งแรงคล้ายกล้วยไม้ช้างแต่ใบยาวกว่าและแคบกว่า ใบยาวประมาณ 40 เซนติเมตรกว้างประมาณ 4 เซ็นติเมตรมีทางสีเขียวแก่สลับสีเขียวอ่อนตามความยาวของใบคล้ายก้ลวยไม้ช้าง ปลายใบมีลักษณะเป้นฟันแหลมไม่เท่ากัน ช่อดอกเป็นรูปทรงกระบอก ใค้งห้อยลง ยาวประมาณ 30-50 เซ็นติเมตร ก้านช่อยาวประมาณ 7-10 เซ็นติเมตร มีดอกแน่นช่อ ใน 1 ช่อมีประมาณ 150 ดอก มากกว่ากล้วยไม้ช้าง รูปร่างลักษณะของช่อดอกที่ยาวเป็นรูปทรงกระบอกคล้ายกับลักษณะของพวงมาลัย จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “พวงมาลัย” ต้นใหญ่ๆ มักจะแตกหน่อที่โคนต้น เกิดเป็นกอใหญ่ขึ้นได้ ดอกมีขนาดประมาณ 1.2-1.5 เซนติเมตร สีพื้นของกลีบนอกและกลีบในของดอกเป็นสีขาว มีจุดสีม่วงประปราย เดือยดอกมีสีม่วงอ่อน แผ่นปากมีลักษณะโค้งขึ้นบนแล้วยื่นไปข้างหน้า มีแต้มสีม่วงตรงกลางแผ่นปากส่วนโคนและปลายสุดแผ่นปากเป็นสีขาว ปลายแผ่นปากเว้า เส้าเกสรเห็นชัด ออกดอกประมาณเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม ดอกจะบานอยู่ได้ประมาณ 2 สัปดาห์ ไอยเรศที่มีดอกสีขาว ไม่มีสีม่วงปะปนอยู่เลย เรียก "ไอยเรศเผือก" ซึ่งหาได้ยาก   ไอยเรศปลูกเลี้ยงได้ง่าย ให้ดอกทุกปี และชอบแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้าง การปลูกอาจเกาะไว้กับกิ่งไม้หรือท่อนไม้ ไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดด หรือจะปลูกลงกระเช้าไม้ แขวนไว้ในบริเวณที่ได้รับแสงแดดเพียงพอ ควรให้ได้รับแสงแดดมากกว่ากล้วยไม้ช้างเล็กน้อย และควรปลูกในเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม เนื่องจากช่วงต้นฤดูฝนจะทำให้ต้นและรากเติบโตดี