วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ภาวะโลกร้อนมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

ภาวะโลกร้อน(Global Warming) มีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร
ผลกระทบที่เกิดจากภาวะโลกร้อน จะเกิดขึ้นในวงกว้าง ซึ่งจะเกิดขึ้นกับระบบนิเวศน์ที่จะเปลี่ยนไปในด้านลบ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจและผลกระทบต่อสุขภาพความเป็นอยู่ของคน อุณหภูมิของโลกที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในทุก ๆ ปี จะทำให้เกิดการละลายของน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ ประกอบกับอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจะยิ่งทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำทะเลในมหาสมุทรเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากจะทำให้เมืองสำคัญต่าง ๆ ที่อยู่ติดกับมหาสมุทรอาจถึงขั้นถูกน้ำทะเลท่วมจนจมอยู่ใต้น้ำ
นอกจากนี้ภาวะโลกร้อนยังผลต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ทำให้สภาพอากาศแปรปรวน เกิดพายุหมุนที่มีความรุนแรงและความถี่มากขึ้น อากาศที่ร้อนก็จะร้อนมาก อากาศที่หนาวก็จะหนาวอย่างสุดขั้ว อุณหภูมิที่สูงขึ้นของโลกจะทำให้เกิดฤดูกาลที่แห้งแล้ง น้ำท่วม มีพายุที่รุนแรงและบ่อยครั้งขึ้น ผลิตผลทางการเกษตรลดลง ทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์จะถูกทำลายด้วยระบบนิเวศน์ที่เปลี่ยนไป อาหารการกินจะหายากและราคาแพงขึ้น โลกที่ร้อนขึ้นจะทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของคน แต่จะเหมาะสมกับการฟักตัวของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่ฟักตัวได้ดีในสภาพอากาศร้อนชื้น การติดเชื้อโรคและการระบาดของโรคต่าง ๆ เช่น ไข้มาลาเรีย อหิวาตกโรค ไข้ส่า อาหารเป็นพิษ ฯลฯ
ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่เกิดขึ้นเป็นการเกิดกับระบบต่าง ๆ โดยรวมของโลก เช่น ระบบนิเวศน์ ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นวงกว้างและทุก ๆ คนจะได้รับผลกระทบนี้อย่างแน่นอนตราบใดที่ยังต้องอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ การจะเอาตัวรอดเฉพาะคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือ ชุมชนใดชุมชนหนึ่ง หรือ ประเทศใดประเทศหนึ่งนั้นไม่อาจเป็นไปได้ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่า ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนจะเกิดขึ้นโดยภาพรวมของโลกทั้งโลก ดังนั้นถึงเวลาแล้วหรือยังที่ต้องร่วมมือร่วมใจกันช่วยกันป้องกันและลดภาวะโลกร้อน.

พลังงานสะอาด

พลังงานสะอาด



การใช้พลังงานจากแหล่ง พลังงานสะอาด เป็นการแก้ปัญหาในเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ถูกต้องและยั่งยืน ที่สุด พลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียน เป็นพลังงานธรรมชาติจากแสงอาทิตย์ ลม และชีวมวล ซึ่งสามารถใช้ได้ไม่มีวันหมด นอกจากนี้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้พลังงานความร้อนร่วมซึ่งเปลี่ยนรูปความร้อนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการ ผลิตให้เป็นพลังงาน ก็ถือว่าเป็นพลังงานสะอาดเช่นกัน โดยพลังงานสะอาดนี้จะช่วยลดการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยเฉพาะก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ได้
ประเทศไทยมีช่วงเวลาที่มี แสงเป็นเวลานานในแต่ละวัน อีกทั้งยังมีปริมาณความเข้มของแสงสูงจึงมีศักยภาพสูงในการใช้พลังงานจากแสง อาทิตย์ แต่ในปัจจุบันเทคโนโลยียังมีราคาค่อนข้างแพงจึงควรได้รับการสนับสนุนจากทุก ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการใช้อย่างแพร่หลายขึ้น
พลังงานชีวมวลก็เป็นอีก แหล่งพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทย เนื่องจากเรามีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย มันสำปะหลัง และเศษไม้ เป็นจำนวนมากที่สามารถนำมาเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ในปัจจุบันในประเทศไทยมีการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลแล้ว แต่ยังไม่สัดส่วนไม่มากนักเมื่อเทียบกับการผลิตด้วยเชื้อเพลิงฟอสซิล จึงควรสนับสนุนให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นในพื้นที่ที่มีวัตถุดิบเพียงพอ ซึ่งนอกจากจะช่วยให้มีการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน แล้วยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรจากการขายวัสดุทางการเกษตรเหลือใช้ อีกด้วย
เหตุผลที่ควรเลือกใช้พลังงานสะอาด
  1. ช่วยลดการปล่อย CO2 เพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  2. เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทางปฏิบัติ
  3. เพื่อเป็นการสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็กซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
  4. ช่วยให้คุณภาพอากาศในชุมชนบริเวณโรงไฟฟ้าดีขึ้น
  5. ช่วยสร้างงานในภาคพลังงานหมุนเวียนและภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

โลกร้อนกับชีวิต

 โลกร้อนกับชีวิต 
            โลกของเรามีผลกระทบจากมนุษย์มากมายและส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตทั้งทางตรง และทางอ้อม เช่นสัตว์ล้มตายอาจเป็นผลกระทบจากมนุษย์หรือโรคระบาดที่เกิดขึ้น ทุกวันนี้มักจะมีโรคระบาดเพิ่มขึ้นมากเช่นโรคไข้หวัดนก อาจเกิดจากโลกร้อน มนุษย์เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตเปลื่ยนไป
ในอนาคตโลกจะเต็มไปด้วยมลพิษ น้ำท่วม ภัยต่างๆมากมาย
            อีกไม่กี่ปีหากไม่ดูแลโลกตั้งแต่วันนี้โลกจะเป็นเหมือนดังภาพมนุษย์อาจสะดวกสบายในโลกที่อันตรายด้วยอุปกรณ์ต่างๆ แทบไม่ต้องทำอะไรเลยเพราะมีอุปกรณ์ต่างๆคอยให้ความสะดวกสบาย
มนุษย์ในอนาคตอาจยืนไม่ได้ อ้วนและฉลาด ถ้าโลกใช้ไม่ได้อาจต้องย้ายที่อยู่อาศัย เป็นคำนายของนักวิทยาศตร์หลายคน

วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ทรัพยากรน้ำ


ทรัพยากรน้ำ
น้ำหมายถึง ของเหลวเกิดจากการรวมตัวกันของก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซออกซิเจนในภาวะที่เหมาะสมหรือความหมายในลักษณะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่นำมาใช้อุปโภค บริโภค ชำระล้างร่างกาย ใช้ในการเพาะปลูก การเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การคมนาคมทางน้ำ การผลิตพลังงาน ทรัพยากรน้ำยังเป็นทรัพยากรประเภทหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นทดแทนอยู่ตลอดเวลาเป็นวัฎจักร
ความสำคัญของแหล่งน้ำ
          น้ำ จัดเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายมนุษย์ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งกำเนิดของสิ่งมีชีวิต เช่น พืช สัตว์ ก่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และรักษาสมดุล ของระบบนิเวศ
ประโยชน์ของทรัพยากรน้ำ
          น้ำฝน ถือเป็นแหล่งกำเนิดของน้ำแทบทั้งหมดที่มีอยู่ในประเทศไทย ฝนที่ตกเมื่อไหลลงสู่แม่น้ำ ลำคลอง แอ่งน้ำ หรืออ่างเก็บน้ำ จะเรียกว่า น้ำท่าเมื่อซึมลงสู่ใต้ดินจะเรียกว่าน้ำใต้ดินและน้ำบาดาล
น้ำท่า คือ น้ำไหลในแม่น้ำลำธาร เกิดจากน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่รับน้ำ บางส่วนสูญเสียไป ส่วนที่เหลือก็จะไหลไปยังที่ลุ่มลงสู่แม่น้ำ ลำธารกลายเป็นน้ำท่า ร้อยละ 75 จะสูญเสียไปเนื่องจากการระเหยกลายเป็นไอน้ำ เมื่อซึมลงสู่ใต้ดินกลายเป็นน้ำใต้ดินและน้ำบาดาลและขังอยู่ตามแหล่งน้ำต่างๆ เพียงร้อยละ 25 ที่ไหลลงสู่แม่น้ำลำธารไปเป็นน้ำท่า น้ำใต้ดิน สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ น้ำตื้นเป็นน้ำใต้ดินที่อยู่ในชั้นดินกรวดทรายระดับตื้น และน้ำบาดาลคือน้ำใต้ดินที่แทรกอยู่ในชั้นดิน กรวดทรายระหว่างชั้นทึบน้ำ 2 ชั้น หรือน้ำใต้ดินที่อยู่ในรอยแตกของหิน ซึ่งแหล่งน้ำใต้ดินที่สำคัญสามารถนำมาพัฒนาใช้ประโยชน์ได้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เช่นเดียวกับทรัพยากรชนิดอื่น ซึ่งนับวันจะมีบทบาทเพิ่มขึ้น แหล่งน้ำบาดาลของประเทศมีอยู่โดยทั่วไปในทุกภาค ซึ่งจะให้ปริมาณน้ำมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพของชั้นดินในแต่ละพื้นที่
สถานการณ์ทรัพยากรแหล่งน้ำ
          วิกฤตการณ์การขาดแคลนน้ำจากสาเหตุต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ความต้องการน้ำใช้ในกิจกรรมต่างๆ มีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น ความสมดุลของทรัพยากรน้ำระหว่างฤดูแล้งและฤดูฝนไม่สมดุล รวมถึงการใช้น้ำในกิจกรรมต่างๆ ที่ขาดแผนการใช้ที่รัดกุมและเหมาะสมรวมทั้งขาดองค์กรระดับชาติที่จะเข้ามาบริหารจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนแหล่งน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันมีสภาพเสื่อมโทรม เน่าเสีย คุณภาพไม่เหมาะสมไม่สามารถนำมาใช้ได้ จากปัญหาที่กล่าวมานี้ เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น
          1. สภาพแหล่งต้นน้ำลำธารถูกทำลาย การบุกรุกทำลายแหล่งน้ำ ส่งผลให้ พื้นที่ต้นน้ำลำธารอันเป็นแหล่งกำเนิดน้ำ ไม่สามารถดูดซับหรือชะลอน้ำไว้ในดิน เมื่อเกิดฝนตกหนักจึงทำให้มีน้ำไหลบ่าลงมาท่วมพื้นที่ตอนล่างอย่างรวดเร็วและรุนแรง
         2. สภาพน้ำท่า เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกชุก ในทุกๆ ภาคของประเทศมี ปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ย โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ปริมาณน้ำท่ามีปริมาณลดลงไปด้วย
          3. การใช้น้ำและความต้องการน้ำเพิ่มขึ้นในทุกลุ่มน้ำ กิจกรรมต่างๆ ทั้งทาง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม อุปโภคและบริโภค การท่องเที่ยว ตลอดจนการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรมล้วนเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความต้องการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น
          4. การบุกรุกทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำต่างๆ การขยายตัวของบ้านจัดสรรโรงงาน อุตสาหกรรม การพัฒนาการคมนาคมขนส่ง โดยขาดการวางแผนก่อให้เกิดการบุกรุกทำลายพื้นที่ชุ่มน้ำหรืออาจทำให้มีการปนเปื้อนของสารพิษลงสู่แหล่งน้ำ

มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม

มนุษย์มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างแนบแน่นใน อดีตปัญหาเรื่องความสมดุลย์ของธรรมชาติตามระบบนิเวศยังไม่เกิดขึ้นมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากผู้คนในยุคต้น ๆ นั้น มีชีวิตอยู่ใต้อิทธิพลของธรรมชาติ ความเปลี่ยนแปลงทางด้านธรรมชาติและสภาวะแวดล้อมเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป จึงอยู่ในวิสัยที่ธรรมชาติสามารถปรับดุลย์ของตัวเองได้

กาลเวลาผ่านมาจนกระทั้งถึงระยะเมื่อไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทศวรรษที่ผ่านมา (ระยะสิบปี) ซึ่งเรียกกันว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" นั้น ปรากฎว่าได้เกิดมีปัญหารุนแรงด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นในบางส่วนของโลกและปัญหา ดังกล่าวนี้ ก็มีลักษณะคล้ายคลึงกันในทุกประเทศทั้งที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา เช่น

·         ปัญหาทางด้านภาวะมลพิษที่เกี่ยวกับน้ำ

·         ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมสลายและหมดสิ้นไปอย่างรวดเร็ว เช่น น้ำมัน แร่ธาตุ ป่าไม้ พืช สัตว์ ทั้งที่เป็นอาหารและที่ควรจะอนุรักษ์ไว้เพื่อการศึกษา
·         ปัญหาที่เกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐานและชุมชนของมนุษย์ เช่น การวางผังเมืองและชุมชนไม่ ถูกต้อง ทำให้เกิดการแออัดยัดเยียด ใช้ทรัพยากรผิดประเภทและลักษณะ ตลอดจนปัญหาแหล่งเสื่อมโทรมและปัญหาจากของเหลือทิ้งอันได

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ผืนป่าเขาใหญ่





ผืนป่าเขาใหญ่มีเรื่องเล่ามากมายหลากหลายเรื่อง หลายคนอาจรู้จักเขาใหญ่ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่เปรียบเสมือนห้องเรียนทางธรรมชาติขนาดใหญ่ ทว่าแท้จริงแล้วเขาใหญ่มีอดีตอันลึกลับที่ผู้คนต่างยุคสมัยเล่าขานกันเนิ่นนานจวบจนปัจจุบัน

ผืนป่าดงดิบอันกว้างใหญ่ที่ทอดตัวขวางกั้นระหว่างที่ราบสูงแผ่นดินอีสานกับพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง หรือที่รู้จักกันในนาม“ดงพญาไฟ”หรือ“ดงพญาเย็น” ตำนานเล่าขานต่อเนื่องเกี่ยวกับสภาพป่าอันดิบชื้น สัตว์ป่าดุร้าย ไข้ป่า และความเชื่อต่างๆ สร้างภาพลักษณ์ที่น่ากลัวของป่าในความคิดของผู้คนที่รอนแรมเดินทางผ่านไปมา จนกระทั่งปี พ.ศ.2502 ฯพณฯจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีฯ ได้เดินทางไปตรวจราชการทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเล็งเห็นถึงความสำคัญที่จะคุ้มครองรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทรัพยากรป่าไม้ จึงได้ประกาศให้บริเวณพื้นที่ป่าเขาใหญ่เป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศ มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ในเขต 4 จังหวัด(อย่างที่กล่าวไปแล้ว) ภายหลังได้มีการประกาศจัดตั้งอุทยานฯทับลานและอุทยานฯปางสีดาในพื้นที่ป่าต่อเนื่องกัน รวมกันแล้วเป็นผืนป่าอุทยานแห่งชาติผืนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ต่อมาในการประชุมอุทยานแห่งชาติของโลกเมื่อปี พ.ศ.2515 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาใหญ่ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 อุทยานแห่งชาติที่มีการจัดการดีเยี่ยม และได้รับการประกาศเป็น“มรดกโลกทางธรรมชาติ”ในเวลาต่อมา ซึ่งนับเป็นอีกหนึ่งความภูมิใจของชาติจวบจนปัจจุบันอุทยานฯเขาใหญ่ มีพื้นที่ 2,168 ตร.กม. ประกอบด้วยทุ่งหญ้ากว้างสลับกับป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ ทางด้านตะวันออกของอุทยานฯปกคลุมไปด้วยป่าดิบเขาและป่าดิบชื้น ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นป่าเบญจพรรณ ส่วนป่าดิบแล้งขึ้นอยู่ในพื้นที่ราบแถบ จ.นครราชสีมา และ จ.ปราจีนบุรี อันเป็นพื้นที่ซึ่งเคยทำเกษตรกรรมมาก่อน ปัจจุบันนี้มีสภาพเป็นป่าทุ่งหญ้า สำหรับป่าเต็งรังพบเพียงเล็กน้อยองค์ประกอบสำคัญยิ่งของระบบนิเวศเขาใหญ่ คือ “สัตว์ป่า” ซึ่งเป็นปัจจัยทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการที่ไม่สิ้นสุด จากการสำรวจของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของอุทยานฯเขาใหญ่ เบื้องต้นพบว่ามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอยู่หลายประเภท ได้แก่ สัตว์กินเนื้อ 16 ชนิด ช้าง 1 ชนิด สัตว์กีบ 7 ชนิด สัตว์กินแมลง 3 ชนิด สัตว์จำพวกลิง 5 ชนิด กระต่าย 1 ชนิด สัตว์จำพวกใช้ฟันแทะ 6 ชนิด ค้างคาวไม่น้อยกว่า 25 ชนิด นกไม่น้อยกว่า 293 ชนิด รวมทั้งสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำประมาณ 70 ชนิดผืนป่าในเขตอุทยานฯเขาใหญ่เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารที่สำคัญหลายสาย เช่น เป็นต้นธารของแม่น้ำนครนายกและแม่น้ำปราจีนบุรีที่ไหลไปรวมกันเป็นแม่น้ำบางปะกง , ลำตะคองที่ไหลหล่อเลี้ยงผู้คนใน จ.นครราชสีมา และต้นน้ำของแม่น้ำมูล อันเป็นลำน้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของผู้คนในภาคอีสานตอนล่าง โดยไหลเลาะเลียบไปทางทิศตะวันออกลงสู่แม่น้ำโขงที่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ธรรมชาติ

    18 กันยายน พ.ศ. 2505 เป็นวันประกาศอุทยานแห่งชาติแห่งแรกของเมืองไทย คืออุทยานฯเขาใหญ่จวบจนถึงวันนี้นับเป็นเวลานับ 50 ปี
    อุทยานเขาใหญ่ใด้ผ่านลอยย้ำของนักเดินทางมาอย่างยาวนานแต่ล่ะคนผ่านพบประสบการณ์และความปรทับใจที่แต่งต่างกันออกไป สิ่งหนึ่งที่ผืนป่าแห่งนี้ไม่เคยเปลียนแปลงนับตั้งแต่พืนป่า"ดงพญาเย็น"อันลึกลับสู่การประกาศให้เป็น"อุทยานแห่งชาติแห่งแรกของประเทศไทย"คือความอุดมสมบูรณ์ของป่าดิบชื้นอันสวยงามซึ่งต่อมายูเนสโก้ (UNESCO)ได้ประกาศให้เป็น "มรดกโลกทางธรรมชาติ"ที่ควรอนุรักษ์และห่วงแหน เมื่อปี พ.ศ. 2548
     สภาพภูมิประเทศของอุทยานฯเขาใหญ่ที่สวยงามเช่นในปัจจุบันนี้น้อยคนนักที่จะรู้ว่าธรรมชาติใด้ใช้เวลาหลายร้อยล้านปีในการสรรค์สร้างให้ปรากฎผลเป็นปฎิมากรรมทางธรนีวิทยาบนผิวโลก ภูมิลักษณ์ของมรดกโลกแห่งนี้จึงมีความลับซับซ้อนด้วยภูเขาน้อยใหญ่ที่ปกติคุมด้วยผืนป่าอันสงบร่มเย็นทว่าแผ่นเปลือกโลกที่ซ้อนอยู่ใต้ผืนป่าแห่งนี้กลับมีเรื่องราวอันหน้าพิศวงและชวนติดตามทั้งที่เกิดจากการละเบิดของภูเขาไฟการถับถมของตะกอน การยกตัวของเปลือกโลก และการกัดเซาะทั้งหลายของดินและหินที่เกิดข้นในแต่ล่ะยุคทางธรนีวิทยาท้าทายให้เราค้นหาอย่างไม่รู้จบ